ไขมันในอวัยวะ ต้นตอของโรคเรื้อรัง

ไขมันในอวัยวะ ต้นตอของโรคเรื้อรัง

ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) คือ ไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกายแล้วกดทับอวัยวะภายใน เช่น ตับ ตับอ่อน หลอดเลือด ลำไส้ เมื่อสะสมเป็นเวลานานไขมันชนิดนี้ก็จะมีความแข็งตัวมากยิ่งขึ้น ทำให้รอบเอวหนา และมีพุงยื่นออกมา ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพและเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว

 

ไขมันสะสมในอวัยวะได้อย่างไร

เกิดจากการที่ร่างกายรับสารอาหารประเภทไขมันเข้าสู่ร่างกาย และน้ำตาลที่จะเปลี่ยนเป็นไขมันในภายหลัง เมื่อมีจำนวนมากจึงทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญได้หมดในแต่ละวัน การลดไขมันสามารถทำได้ด้วยวิธีการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายนำไขมันออกมาใช้เป็นพลังงานมากที่สุด แต่หากร่างกายใช้ไขมันส่วนนี้เป็นพลังงาน เซลล์ไขมันส่วนนี้ก็จะปล่อยสารกลุ่ม allergenic ออกมาได้ไข้ได้เช่นกัน

 

โดยทั่วไปแล้วไขมันในอวัยวะจะพบมากในคนที่มีลักษณะอ้วนลงพุง หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตราฐาน ซึ่งสามารถเปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) จากสูตร = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (m2) ว่าเรามีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตราฐานและสุ่มเสี่ยงจะมีไขมันที่หน้าท้องตามรูปด้านล่างเลยค่ะ

 

 

คนผอมมีไขมันในอวัยวะได้ไหม

ไม่เพียงคนที่อ้วนลงพุงที่สามารถมีไขมันในอวัยวะได้เท่านั้นนะคะ ในส่วนของคนผอมมากๆ แต่มีพุงป่องก็สามารถมีได้เช่นกัน ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่ไม่เคยบริหารกล้ามเนื้อท้อง ซึ่งสามารถแก้โดยการเขม่วพุงเข้าไปให้ได้มากที่สุด หรือที่เรียกว่า ” Stomach Vacuum ” ค่ะ

 

การวัดองค์ประกอบของร่างกาย 

การวัดค่าไขมันในอวัยวะ จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือทางการแพทย์เฉพาะเรียกว่า Inbody (Body Composition Analysis) ซึ่งสามารถวัดองค์ประกอบต่างๆ ของร่างกายได้อย่างละเอียด มีความแม่นยำสูง โดยวิเคราะห์แยกส่วนประกอบของร่างกาย ได้แก่ น้ำ กล้ามเนื้อ กระดูก และไขมัน โดยการวัดความต้านทานต่อการไหลของกระแสไฟฟ้า ปริมาณน้อยๆ เพียง 1-2 โวลต์ ในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งมีแรงต้านทานต่อการไหลของกระแสไฟฟ้าไม่เท่ากัน ทำให้สามารถวัดส่วนประกอบทั้งหมดในร่างกายได้ง่าย รวดเร็ว ปลอดภัย และมีความเที่ยงตรงสูง

 

  1. ปริมาณน้ำในร่างกาย (Body Water) หากร่างกายสูญเสียน้ำหรือมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อระบบการเผาผลาญได้
  2. มวลกล้ามเนื้อและไขมัน เทียบกับค่าปกติตามช่วงอายุ เเละเพศได้
  3. อัตราส่วนเอวต่อสะโพก
  4. Lean Balance เป็นค่าที่จะบอกปริมาณกล้ามเนื้อ ของเเขน ขา เเต่ละข้าง เเละลำตัว เพื่อดูว่าสมดุลกันหรือไม่                                                                              
  5. Edema ค่าบ่งชี้ความบวมน้ำ                                                                                       
  6. Visceral Fat Area ปริมาณไขมันภายในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย 

 

หลักเกณฑ์ของการวัดองค์ประกอบของร่างกาย 

  1. ความยาวรอบเอว ผู้ชายไม่ควรเกิน 90 ซม. และผู้หญิงไม่ควรเกิน 80 ซม. 
  2. ไขมัน ที่วัดคือไตรกลีเซอร์ไลด์ ที่ได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไปหรือร่างกายสร้างเองได้ด้วยตับและลำไส้เล็กไม่เกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 
  3. HDL-c ในผู้ชายก็ไม่ควรต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในผู้หญิงก็ไม่ควร 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  4. ความดันโลหิตสูง ปกติที่ 130/85 มิลลิเมตรปรอท
  5. วัดระดับกลูโคสในเลือดหรือน้ำตาลขณะอดอาหารในช่วงเช้า Fasting Plasma glucose (FPG) หรือ Fasting blood sugar ค่าปกติอยู่ระหว่าง 70 -100 mg/dL.

 

 

ตามหลักเกณฑ์ของ NCEP (National Cholesterol Education Program) หากมี 3 ใน 5 ข้อข้างต้นนี้ ถือเป็นเมตาบอลิกซินโดรมหรือโรคอ้วนลงพุงทันทีค่ะ 

 

APEX SLIM มีประสบการณ์กว่า 25 ปี โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีเครื่องวัดองค์ประกอบของร่างกาย InBody ที่ได้มาตราฐาน

ปรึกษาลดน้ำหนักและสัดส่วนทักได้ที่นี่
095-102-8585
LINE: https://line.me/ti/p/%40APEXslim
FB INBOX: http://m.me/apexslim
FB Page: https://www.facebook.com/ApexSlim

 



MAKE AN APPIONTMENT