
เช็คด่วน!! ออฟฟิศซินโดรม หรืออ้วนกันแน่
พนักงานออฟฟิศมักจะพบกับอาการปวดต่างๆ ตามร่างกาย ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมทำงานซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ โดยไม่ขยับยืดเส้นยืดสายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรืออยู่ในท่าทางที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การนั่งหรือการยืนหลังค่อม การก้มคอดูจอคอมพิวเตอร์มากเกินไป จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อได้
ซึ่งจริงๆ แล้วอาการปวดต่างๆ อาจจะไม่ได้เกิดจาก ออฟฟิศซินโดรม เพียงอย่างเดียว ความอ้วนก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดต่างๆ ได้เช่นกัน เราไปดูอาการปวดที่เกิดจากความอ้วนกันค่ะว่ามีอะไรบ้าง และคล้ายกับอาการออฟฟิศซินโดรมมากแค่ไหน
- ปวดเข่า หรือข้อเข่าเสื่อม
การที่มีน้ำหนักตัวมากจะทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักตัว และเพิ่มแรงกดทับเกือบตลอดเวลา ส่งผลให้ข้อที่มีกระดูกอ่อน ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวดูดซับแรงกระแทกในการรับน้ำหนัก เกิดการสึกหรอได้เร็วกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวน้อยหรือน้ำหนักปกติ โดยทั่วไปผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ ขณะเดินจะมีแรงผ่านข้อเข่า 4-5 เท่าของน้ำหนักตัว และถ้าหากนั่งยองๆ จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าของน้ำหนักตัว ฉะนั้นคนที่มีน้ำหนักตัวมากหรืออ้วนก็จะมีแรงผ่านข้อเข่ามากขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวด หรือ ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมร่วมด้วย เช่น การนั่งยองๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ ซึ่งจะทำให้เกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนเร็วขึ้น เมื่อข้อเข่าเกิดการอักเสบจะทำให้เกิดอาการปวด บวมเเดงที่ข้อเข่า เข่าโก่ง สุดท้ายจะเกิดอาการปวดมากขึ้นจนส่งผลในการใช้ชีวิตประจำวัน
- ปวดหลัง หรือโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากมีโอกาสเกิดอาการปวดหลัง ปวดคอ เรื้อรังได้มากกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติ เนื่องจากกระดูกสันหลังที่ประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นเชื่อมต่อกันด้วยหมอนรองกระดูก ทำหน้าที่รับแรงกระแทกของน้ำหนักตัวจากการเคลื่อนไหว จะต้องรับน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้หมอนรองกระดูกมีสภาพเสื่อมลง และมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อหมอนรองกระดูก นอกจากนี้ยังทำให้แกนหมอนรองกระดูกหลุดออกมาภายนอก และกดทับเส้นประสาทไขสันหลังได้อีก
- ปวดส้นเท้า หรือโรครองช้ำ
การที่มีน้ำหนักตัวมาก ทำให้กระดูกส้นเท้า ข้อต่างๆ รวมไปถึงเอ็น ต้องแบกรับน้ำหนักและได้รับแรงกดกระแทกมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เอ็นฝ่าเท้าและเนื้อเยื่อรอบๆ ที่ทำหน้าที่ช่วยรองรับอุ้งเท้า และดูดซับแรงกระแทกขณะเดิน เกิดการอักเสบเรื้อรัง จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดที่ส้นเท้า หรือทั่วทั้งฝ่าเท้า โดยเฉพาะ อาจจะมีอาการปวดก้าวแรกช่วงเวลาตื่นนอนในตอนเช้า หรือก้าวแรกหลังจากที่นั่งพักเป็นเวลานาน
จะเห็นได้ว่าอาการปวดต่างๆ ที่เกิดจากความอ้วน จะมีอาการในบริเวณเดียวกันกับออฟฟิศซินโดรม ทั้งนี้อาการแรกเริ่มอาจจะเกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นความอ้วนหรือพฤติกรรม และเกิดการกระตุ้นให้อาการหนักขึ้นจากอีกปัจจัยภายหลัง ซึ่งเป็นปัญหาที่ควรแก้ไขแบบเร่งด่วน โดยเฉพาะน้ำหนักตัวที่นำไปสู่โรคอื่นๆ ตามมา ซึ่งก่อนอื่นเราควรเช็คกันก่อนดีกว่าว่าน้ำหนักตัวของเราเข้าข่ายอ้วนแล้วหรือยัง
เช็คความอ้วนด้วย BMI
เราสามารถคำนวณ BMI หรือดัชนีมวลร่างกาย เพื่อตรวจสอบค่าน้ำหนักตัวว่าอ้วนหรือเกินเกณฑ์มาตรฐานจากสูตรคำนวณ BMI = kg/m2 และเปรียบเทียบกับรูปค่ามาตรฐานด้านล่าง
ตัวอย่าง นาย A น้ำหนัก 90 สูง 172 วิธีการคิดง่ายๆ คือ
เปลี่ยนส่วนสูงเป็นเมตรก่อน แล้วยกกำลัง2 หรือการคูณเลขเดิมซ้ำ คือ 1.72*1.72 = 2.958
จากนั้นคำนวณตามสูตร BMI = 90/2.958 คำตอบคือ 30.42 อยู่ในเกณฑ์อ้วน (ระดับ 2)
วิธีการแก้ไข/ป้องกัน
หากคำนวณแล้วพบว่าน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตราฐาน เราควรลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งน้ำหนักตัวยังไม่ได้เกินเกณฑ์มาตราฐาน โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากควรควบคุมน้ำหนักตามอายุที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอาการปวดส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ข้อควรระวัง
เมื่อมีอาการปวดในบริเวณต่างๆ มากขึ้น การกินยาแก้ปวดจะทำให้ยาออกฤทธิ์กัดกระเพาะ และส่งผลให้กินอาหารบ่อยขึ้นเพื่อไม่ให้ท้องว่าง ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้อีก ทางที่ดีควรกินยาตามที่แพทย์สั่ง ส่วนการออกกำลังกายจะต้องหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่มีการกระแทกกดทับมาก เพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดหนักขึ้น
ด้วยข้อจำกัดในการออกกำลังกาย จึงควรลดน้ำหนักที่ต้นเหตุ ศูนย์ลดน้ำหนัก Apex Slim เรามีแพทย์เฉพาะทางที่เชี่ยวชาญในด้านการลดน้ำหนักโดยเฉพาะ และเป็นศูนย์รวมเทคโนโลยีทันสมัยระดับโลกในการลดน้ำหนักและสัดส่วนที่มีจำนวนเครื่องมือมากที่สุด
โปรแกรมลดน้ำหนักที่ Apex Slim ใช้การผสมผสานการรักษา โดยมีเทคโนโลยีล่าสุด “เปปไทด์ลดหิว” สารโปรตีนสกัดเลียนแบบฮอร์โมน จะทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว ลดความรู้สึกหิวและอยากอาหาร จึงช่วยให้ควบคุมอาหารได้ง่ายขึ้น ลดน้ำหนักที่ต้นเหตุไม่ต้องเสี่ยงออกกำลังกายหนัก
ซึ่งการควบคุมอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการลดน้ำหนักถึง 80% ใช้ต่อเนื่องเพียง 4 เดือน น้ำหนักลดลง 5 – 10% และสามารถหยุดการใช้ได้เมื่อลดน้ำหนักได้เป็นที่พอใจ โดยไม่มีโยโย่เอฟเฟกต์เหมือนกับยาลดน้ำหนักแบบเดิม
และเครื่องมือกำจัดไขมันในอวัยวะ Indiba ซึ่งเป็นเครื่องมือเดียวในปัจจุบันที่สามารถลดไขมันในอวัยวะได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการไหลของกระแสไฟฟ้า 448 kHz ระหว่างเซลล์ ทำให้เกิดการกระตุ้นฟื้นฟูเซลล์เพิ่มสารอาหารและออกซิเจนให้กับเซลล์ เพิ่มกระบวนการเผาผลาญและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่อักเสบหรือบาดเจ็บ ทำให้เซลล์ไขมันมีการเผาผลาญลดลงและกลับมาทำหน้าที่สะสมไขมันแทน