
5 เหตุผล ทำไมกินแล้วไม่รู้สึกอิ่ม
“อ้วน” แต่หยุดกินไม่ได้ทำอย่างไรดี มีใครที่กำลังเผชิญปัญหานี้กันอยู่บ้าง? รู้สึกหิวอยู่ตลอดเวลา อยากกินจุบจิบทั้งวันหรือหิวช่วงเวลากลางคืนบ่อยๆ ถ้าไม่กินก็นอนไม่หลับ แม้จะกินอาหารจำนวนมากแต่พอเวลาผ่านไปไม่นานก็กลับมารู้สึกหิวอีกครั้ง ทำให้กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่มสักที เมื่อกินบ่อยเข้ากลายเป็นว่าอันนั้นก็อร่อย อันนี้ก็อร่อย กินไปกินมาดันอ้วนซะงั้น
แน่นอนว่าเมื่อเรากินอาหารเป็นจำนวนมากและหากไม่มีการเผาผลาญ ไขมันส่วนเกินจะไปสะสมตามร่างกายทำให้อ้วนลงพุงได้ ซึ่งทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า.. ทำไมเรากินเท่าไหร่ก็ไม่รู้สึกอิ่มสักที วันนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน
อาการหิว เป็นกลไกการทำงานของร่างกาย เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดของเราลดต่ำลง เส้นประสาทจะส่งสัญญาณเตือนว่าร่างกายต้องการอาหารเพื่อนำมาเผาผลาญเป็นพลังงาน ทำให้ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเกรลิน (ghrelin) ออกมา เพื่อสั่งการไปยังสมองว่าเรากำลังหิวและกระตุ้นให้กระเพาะอาหารเกิดการเกร็งตัวและเกิดอาการหิวขึ้นมา โดยจะแสดงออกทางร่างกาย เช่น ท้องร้อง, มวนท้อง, อ่อนแรง, มือสั่น เป็นต้น
โดยส่วนใหญ่มักเกิดหลังจากกินอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง หรือสำหรับผู้ที่มีระบบเผาผลาญเร็วจะเกิดหลังจากกินอาหารอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง จากนั้นเมื่อเรากินน้ำและอาหารแล้ว ร่างกายจะหยุดหลั่งฮอร์โมนเกรลินและหลั่งฮอร์โมนเลปติน (leptin) เพื่อตอบสนองร่างกายว่าอิ่มแล้วแทน
5 เหตุผล ทำไมกินแล้วไม่รู้สึกอิ่ม
- ความเครียด
ความเครียดหรือการวิตกกังวลจะทำให้ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และอะดรีนาลีน (Adrenaline) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่หลั่งในสภาวะฉุกเฉินของร่างกาย เช่น โกรธ ตกใจหรือตื่นเต้นอย่างรุนแรง เพิ่มสูง ทำให้ร่างกายต้องการพลังงานและกระตุ้นให้อยากกินอาหารมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะอาหารประเภทน้ำตาล อาหารไขมันสูง หรืออาหารรสเค็มจัด
นอกจากนี้เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะยับยั้งการหลั่งเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทการควบคุมความหิวในร่างกาย เมื่อสารชนิดนี้มีปริมาณน้อยทำให้อยากอาหารเพิ่มมากขึ้น จึงเกิดอาการหิวบ่อยตามมา
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ
เมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอจะเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนเกรลินกระตุ้นให้เกิดความอยากอาหารมากขึ้นและลดฮอร์โมนเลปติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่ม จึงทำให้หิวบ่อยและกินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม จากการทดลองจากคน 1,000 คน พบว่ากลุ่มที่มีพฤติกรรมนอนน้อยจะมีระดับฮอร์โมนเกรลินสูงขึ้น 14.9% และระดับฮอร์โมนเลปตินลดลง 15.5% กว่ากลุ่มที่พักผ่อนเพียงพอ
ดังนั้นหากไม่อยากอ้วน ควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง เพื่อปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายให้กลับมาเป็นปกติและอาจช่วยลดอาการหิวบ่อยให้น้อยลง เมื่อฮอร์โมนเหล่านี้กลับเข้าสู่ปกติอาการหิวบ่อยก็จะลดลงตามไปด้วยได้แล้ว
- ดื่มน้ำน้อยเกินไป
เมื่อร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน จะส่งผลให้ต่อมไฮโปทาลามัสซึ่งมีหน้าที่ควบคุมความหิว (hypothalamus) อาจเกิดการทำงานผิดปกติ ซึ่งเมื่อร่างกายขาดน้ำจากที่จะรู้สึกกระหายน้ำแต่กลับกลายเป็นรู้สึกหิวอาหารขึ้นมาแทน
- อดมื้อเช้า
การไม่กินอาหารเช้าทำให้ร่างกายได้รับโปรตีนและไขมันไม่เพียงพอ ซึ่งโปรตีนและไขมันเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและช่วยสร้างความอบอุ่น นอกจากนี้โปรตีนยังทำให้อิ่มท้องนาน และไขมันไขมันมีส่วนช่วยชะลอการย่อยอาหารและเพิ่มการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่มนั่นเอง
- รูปภาพอาหาร
รูปภาพหรือคลิปวิดีโออาหารเป็นสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เราอยากกินอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะใครที่ดูตอนกลางคืนต้องพ่ายแพ้ต่อความหิวแน่นอน ฉะนั้นเราต้องตั้งสติให้ดี ไม่งั้นอ้วนแน่นอน ในช่วงดึกใครที่ติดการเล่นโทรศัพท์เปลี่ยนจากดูรูปภาพอาหาร ไปดูอย่างอื่นแทนจะเข้าท่ากว่า
ซึ่งเราสามารถห่างไกลความอ้วนจากการกินแล้วไม่รู้สึกอิ่มได้ ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมหรือใช้ตัวช่วยในการลดน้ำหนัก โดยศูนย์ลดน้ำหนัก Apex Slim มีแพทย์เฉพาะทางที่เชี่ยวชาญในด้านการลดน้ำหนักโดยเฉพาะและเป็นศูนย์รวมเทคโนโลยีทันสมัยระดับโลกในการลดน้ำหนักและสัดส่วนที่มีจำนวนเครื่องมือมากที่สุด
โปรแกรมลดน้ำหนักที่ Apex Slim ใช้การผสมผสานการรักษา โดยมีเทคโนโลยีล่าสุด “เปปไทด์ลดหิว” สารโปรตีนสกัดเลียนแบบฮอร์โมน จะช่วยทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว ลดความรู้สึกหิวและอยากอาหาร จึงช่วยให้ควบคุมอาหารได้ง่ายขึ้น ลดน้ำหนักที่ต้นเหตุ ไม่ต้องเสี่ยงออกกำลังกายหนัก
ซึ่งการควบคุมอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการลดน้ำหนักถึง 80% ใช้ต่อเนื่องเพียง 4 เดือน น้ำหนักลดลง 5 – 10% และสามารถหยุดการใช้ได้เมื่อลดน้ำหนักได้เป็นที่พอใจ โดยไม่มีโยโย่ เอฟเฟกต์เหมือนกับยาลดน้ำหนักแบบเดิม